วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  4

วันพฤหัสบดี   ที่  29  สิงหาคม   2562



 บทที่ 3  เรื่อง  การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

1.One-Way  Communication              การสื่อสารทางเดียว
2.Two-Way  Communication              การสื่อสารสองทาง
3.Verbal  Communication                   การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา
4.Non-Verbal  Communication           การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา       
5.Personal    Communication              การสื่อสารส่วนบุคคล
6.Intrapersonal  Communication         การสื่อสารระหว่างบุคคล 
7.Mass  Communication                      การสื่อสารมวลชน
8.Channel                                             ช่องทางการสื่อสาร
9.Clarity  of  audience                          ความสามารถของผู้รับสาร
10.Clearly                                             ความชัดเจน

                   
1.ความหมายของการสื่อสาร
        การสื่อสาร  (Communication)  หมายถึง  กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับสาร  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา  โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

2.ความสำคัญของการสื่อสาร
       2.1 ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
       2.2 ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
       2.3 ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
       2.4 ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
       2.5 ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

3.รูปแบบของการสื่อสาร
     
       3.1 รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล  (Aristotle's Model  Communication )
                
ผู้พูด-------คำพูด-------ผู้ฟัง
       
       3.2 รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล   (Lasswell's Model  Communication)

       ผู้ส่งสาร---สาร---สื่อ---ผู้รับสาร---ผล

       3.3 รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์  (Shannon & Model of  Communication)
                               
                แหล่งสารสารสนเทศ---ตัวถ่ายทอด---สาร---ผู้รับสารหรือเครื่องรับ---ผู้รับสารปลายทาง

       3.4 รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์  (C.E Osgood and Willbur Schramm's)

                         สาร---เข้ารหัส---ตีความ---ถอดรหัส---สาร---ถอดรหัส---ตีความ---เข้ารหัส

       3.5 รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล  (Berlo's Model of Communication)
                   
                                   S (ผู้ส่งสาร) --- M (สาร) --- C (ช่องทาง) --- R (ผู้รับสาร)

4.องค์ประกอบของการสื่อสาร
       4.1 ผู้ส่งข่าวสาร        (Sender)
       4.2 ข้อมูลข่าวสาร    (Message)
       4.3 สื่อในช่องทางการสื่อสาร     (Media)
       4.4 ผู้รับข่าวสาร       (Receivers)
       4.5 ความเข้าใจและการตอบสนอง

5.ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
       5.1 ผู้จัดกับผู้ชม
       5.2 ผู้พูดกับผู้ฟัง
       5.3 ผู้ถามกับผู้ตอบ
       5.4 คนแสดงกับคนดู
       5.5 นักเขียนกับนักอ่าน
       5.6 ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
       5.7 คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

6.สื่อ
         ใช้วิธีพูด-เขียน  หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ  เช่น  ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ

7.สาร
        เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกันในข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้  จะเกิดขึ้นตามกาลเทศะและสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

8.วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
       8.1 เพื่อแจ้งให้ทราบ
       8.2 เพื่อความบันเทิงใจ
       8.3 เพื่อชักจูงใจ

9.ประเภทของการสื่อสาร
      9.1 จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร   แบ่งเป็น 2 ประเภท  ดังนี้
1.การสื่อสารทางเดียว  เช่น  การสื่อสารผ่านสื่อ   วิทยุ   โทรทัศน์ 
2.การสื่อสารสองทาง   เช่น  การพูดคุยกัน  การพบปะ
      9.2 จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก    แบ่งเป็น  2  ประเภท   ดังนี้
1.การสื่อสารเชิงวัจนะ   เป็นการใช้คำพูด
2.การสื่อสารเชิงอวัจนะ  เป็นการใช้ภาษาท่าทาง  การแสดงออกทางสีหน้า   สายตา
      9.3 จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร   แบ่งเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
1.การสื่อสารส่วนบุคคล   
2.การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.การสื่อสารมวลชน
   ( การสื่อสารสาธารณะ   การสื่อสารในครอบครัว   การสื่อสารในโรงเรียน และการสื่อสารในวงสังคมทั่วไป)

10.ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ    ดังนี้
       10.1 เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
       10.2 เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
       10.3 เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

11.ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
       11.1 ความพร้อม                                                                             
       11.2 ความต้องการ                                     
       11.3 อารมณ์และการปรับตัว                                           
       11.4 การจูงใจ
       11.5 การเสริมแรง                                 
       11.6 ทัศนคติและความสนใจ
       11.7 ความถนัด

12.อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
      12.1 ผู้ข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี  เช่น การใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจหรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
     12.2 ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
     12.3 ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

13. 7C  กับการสื่อสารที่ดี
     13.1 Credibility   ความน่าเชื่อถือ
     13.2 Content    เนื้อหาสาระ
     13.3 Clearly     ความชัดเจน
     13.4 Context    ความเหมาะสมกับโอกาส
     13.5 Channel   ช่องทางการสื่อสาร
     13.6 Continuity  consistency   ความต่อเนื่องและแน่นอน
     13.7 Clarity  of  audience     ความสามารถของผู้รับสาร

14.คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
     14.1 ความสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
     14.2 ความรัก  ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
     14.3 ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
     14.4 เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยม

15.วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
     15.1 ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
     15.2 พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
     15.3 พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
     15.4 หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
     15.5 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

             การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ  ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน  เพื่อที่จะให้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด  เกิดความศรัทธา  เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน






             ระหว่างการเรียนอาจารย์ก็ได้มี เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารต่างๆ  ได้แก่  เกมสื่อความหมาย      เกมทายคำ     เกมพรายกระซิบ และ เกม ใคร ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่  อย่างไร  กับใคร


คำถามท้ายบทที่ 3

1.)จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  การสื่อสาร   คือ  กระบวนการส่งข่าวสารหรือข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา  
         ความสำคัญของการสื่อสาร     เป็นการทำให้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งทำให้เกิดมิตรภาพที่อบอุ่นทั้งทางกายและใจ

2.)การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ   2.1 เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจตรงกันในเรื่องต่างๆอย่างสมานฉันท์  
           2.2  เพื่อชักจูงใจให้ผู้ปกครองเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตนทีดี
           2.3  เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีและรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู

3.)รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ   รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล    ได้แก่    ผู้พูด-------คำพูด-------ผู้ฟัง
เพราะเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมในสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและคุณครู ในการพูดคุยปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็ก  เช่น   การปรึกษาการไม่รับประทานอาหารของเด็ก   การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียน

4.)ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ   4.1 เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาการเด็ก
           4.2 เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีสมานฉันท์
           4.3 มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
           4.4 เรียนรู้ได้ดีจาการฝึกปฏิบัติ
           4.5 เรียนรู้ได้ดีในบรรยายกาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
           4.6 ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
           4.7 เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5.)ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก  ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ    5.1 ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
            5.2 ความต้องการ  เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง  มีการศึกษาที่ดี
            5.3 อารมณ์และการปรับตัว    เช่น  ดีใจ  พอใจ   โกรธ  เสียใจ
            5.4 การจูงใจ    เช่น  ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก  ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
            5.5 การเสริมแรง  เช่น  คำชมเชย  รางวัล ให้ลูกมีกำลังใจ
            5.6 ทัศนคติและความสนใจ  เช่น  จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
            5.7 ความถนัด   ความสามารถในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเมินตนเอง
        เข้าเรียนตรงต่อเวลา   การแต่งกายเรียบร้อย   ตั้งใจจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญไว้เป็นความรู้ติดตัวและให้ความร่วมมือในการเล่นเกมทายคำกับเพื่อนๆ เป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆเข้าเรียยนตรงต่อเวลา   มีความสามัคคีในการร่วมกันเล่นเกมที่อาจารย์นำมาให้เล่นกันอย่างสนุกสนานมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์มีการเตรียมสื่อการสอนเป็นอย่างดีและอธิบายรายละเอียดเนื้อหาเรื่อง การสื่อสาร  ได้อย่างเข้าใจมากค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  3

วันพฤหัสบดี   ที่  22  สิงหาคม    2562



              บทที่ 2  เรื่อง  หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

1.Education   Networking                     การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
2.Understanding                                    การสร้างความเข้าใจ
3.Behavior  change                               การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4.Parental    Involvement                      การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
5.Role  of  parent                                  บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง
6.Parent   education   mode               รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครอง
7.Fomal   education                              การให้ความรู้แบบเป็นทางการ
8.Informal   education                          การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ


                 การให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะช่วยทำให้พ่อแม่  ผู้ปกครองได้เรียนรู้และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการพัฒนาเด็ก  ทำให้ดำเนินงานทางการศึกษาระหว่างบ้านกับโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   และทำให้ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจกิจกรรมการเรียนการสอนของเด็กอย่างถูกต้อง

1.ความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

              การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก  เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว  การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่  ผู้ปกครอง   ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล  อบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็ก  เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า  เพื่อพัฒนาการตนต่อไปในอนาคต

2.ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
         
            2.1  เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
            2.2  เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ฏ
            2.3  ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา  ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
            2.4  เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
            2.5  ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

3.วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

           3.1  เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
           3.2  เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
           3.3  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
           3.4  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
           3.5  เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

4.รูปแบบการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
 
              มี 2  ส่วนหลักๆ  คือ      4.1 การมีส่วนร่วมที่บ้านในการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กทุกๆด้าน
4.2 การมีส่วนร่วมในสถานศึกษา    เช่น  การเข้าร่วมประชุมร่วมกิจกรรมต่าง  ตลอดจนการปรึกษา  เยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน   การมีส่วนร่วมในการทำงานเสนอแนวคิดและร่วมตัดสินใจทางการศึกษา

5.แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

             เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมอยู่บนพื้นฐานความคิดของการสร้างความสัมพันธ์อันดี กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น  ขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสังคม  ครอบครัว  เจตคติและความเชื่อของผู้ปกครอง  โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมและยึดผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเป็นสำคัญ

6.บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

           6.1  เป็นผู้อบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการให้การศึกษาแก่เด็ก
           6.2  ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง
           6.3  ให้ความมือร่วมทำกิจกรรมต่างๆในสถานศึกษากับเด็ก
           6.4  ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนโรงเรียน  เพื่อพัฒนาเด็กอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

7.แนวปฏิบัติของสถานศึกษา

          7.1  รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
          7.2  ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก   ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น  ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
          7.3  ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่  ผู้ปกครอง


                 ผู้ปกครองถือเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตพัฒนาการ  การเรียนรู้  การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่เด็กปฐมวัย  การที่ผู้ปกครองมีความรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตตั้งแต่เริ่มต้น  โดยดำเนินการศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยเลือกรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองรับประโยชน์สูงสุด  ประกอบด้วย  3  รูปแบบ  คือ  บ้านเป็นฐานการเรียนรู้   โรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ และชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้


คำถามท้ายบทที่  2


1.) การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ      ทำให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน  และให้การศึกษากับบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ


2.) ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง  จงอธิบาย   และยกตัวอย่างของกิจกรรม
ตอบ     2.1 กิจกรรมโรงเรียน  เช่น  การประชุมผู้ปกครอง   กิจกรรมการฝึกอบรม   กิจกรรมที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษต่างๆ
             2.2  กิจกรรมสานสัมพันธ์    เช่น   การเยี่ยมบ้านนักเรียน    การสนทนาระหว่างคุณครูและผู้ปกครอง
             2.3  กิจกรรมการศึกษา   สามารถให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและร่วมกิจกรมกับเด็กๆ    เช่น   กิจกรรมทำ Cooking     กิจกรรมโรงละครนิทาน
             2.4  กิจกรรมบริการ   เช่น  ห้องสมุดของเล่น   ศูนย์ดูแลเด็ก   ศูนย์แลกเปลี่ยนสิ่งของเหลือใช้


3.) นักศึกษามีแนวความคิดอย่างไรการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
ตอบ   เนื่องจากที่บ้าน เป็นสิ่งสำคัญที่แรกในการเรียนรู้ของเด็ก  เพราะมีทั้งบุคคลในครอบครัว   สิ่งของเครื่องใช้  ธรรมชาติรอบๆบริเวณบ้าน  ล้วนเป็นสิ่งที่เด็กๆสามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองได้อย่างง่ายดาย  และทำให้เด็กเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี


4.) องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ตอบ   4.1  วิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
           4.2  วิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
           3.3  การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
           3.4  การตระหนักถึงบทบาทของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
           3.5  การให้ผู้ปกครองรับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน



ประเมินตนเอง

      เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ได้บรรยายเนื้อหาให้ความรู้และจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน

      เพื่อนๆบางคนก็ตั้งใจเรียน  บางคนก็เล่นโทรศัพท์ ขณะที่อาจารย์บรรยายเนื้อหาในการเรียนค่ะ

ประเมินอาจารย์

      อาจารย์ได้อธิบายและยกตัวอย่างในเรื่อง หลักเบื้องต้นในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2 

วันพฤหัสบดี  ที่  15  สิงหาคม  2562



                    บทที่  1  เรื่อง  การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

       1.Parent                        พ่อแม่   ผู้ปกครอง
       2.Education                  การศึกษา
       3.Early  Childhod         เด็กปฐมวัย
       4.Parent  Education  for   Early  Childhod  การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
       5.Is  good  example of  children                  การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
       6.Attentiveness                                            ความเอาใจใส่
       7.Intimacy                                                    ความใกล้ชิด
       8.Family  Relationship                                 สายสัมพันธ์ในครอบครัว
       9.Accept  emotions  and  feelings  of  children        ยอมรับอารมณ์และความรู้สึกของลูก

1.การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
         การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ควรได้รับการดูแล  ถ่ายทอดความคิดวัฒนธรรม  ขนมธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมที่ดีงามจากผู้ที่มีความสำคัญอยู่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เพื่อให้การดำรงชีวิตมีความสุขที่ดี

2.ความหมายของผู้ปกครอง
        ผู้ปกครอง   หมายถึง  ผู้ที่เป็นบิดา   มารดา  ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้การศึกษา รวมทั้งความรักและความเอาใจใส่กับเด็ก

3.ความสำคัญของผู้ปกครอง
         พ่อแม่  ผู้ปกครองมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก  พ่อแม่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็กทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายที่สมบูรณ์และจิตใจที่ดี มอบความรักที่บริสุทธิ์ใจกับลูก  รวมทั้งสังคมและสติปัญญา

4.บทบาทและหน้าที่ผู้ปกครอง
        เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานที่สำคัญกับเด็กให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ  มีดังนี้
         1.ให้ความรักและความสัมพันธ์กันในครอบครัว
         2.ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
         3.เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก
         4.ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมกับการปฏิบัติตนที่ดี
         5.ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย
         6.ใช้หลักธรรมไตรสิกขา  (ศีล-สมาธิ-ปัญญา )
         7.ส่งเสริมพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ตามความสนใจของเด็กอย่างเหมาะสม
         8.ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
         9.ดูแลเอาใจใส่สุขภาพเด็กอย่างเต็มที่
        10.สนับสนุนเตรียมความพร้อมลูกก่อนเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน

คำถามท้ายบทที่  1

1.) ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ    บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างมาก  เพราะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและต้องปรับตัวเข้ากับสังคมปัจจุบันในการเลี้ยงลูกในแบบใหม่และต้องมีความเข้าใจและความต้องการของลูกเป็นอย่างดี แต่ต้องเหมาะสมและอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ไม่บังคับลูกจนเกินไป ให้อิสระกับลูกอย่างเต็มที่  สอนให้รู้จักความดีความชั่วตั้งแต่เด็ก ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็กแต่ยังเล็ก จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต


2.) จงอธิบายวิธีแนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย
ตอบ    2.1 ด้านร่างกาย    พ่อแม่ต้องดูแลในการจัดเตรียมอาหารที่ดีครบ 5 หมู่ให้กับเด็กรับประทาน เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย   การดูแลความสะอาดการเข้าห้องน้ำ  การแต่งตัว  และ การพาลูกออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
           2.2 ด้านอารมณ์-จิตใจ  สิ่งสำคัญ คือ พ่อแม่ต้องมีอารมณ์ที่ดีใจเย็นกับลูก  จะทำให้เด็กซึมซับให้เป็นคนที่มีอารมณ์ดีจากพ่อแม่ได้เป็นอย่างมาก    ทำกิจกรรมร่วมกับลูก เช่น  การร้องเพลง   การเล่นดนตรี    การเล่นกับลูกด้วยการที่ทำให้ลูกหัวเราะ
           2.3 ด้านสังคม    การพาลูกไปพบปะผู้คนนอกบ้านบ่อยๆ   ให้ลูกเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกันอย่างเป็นประจำ    การให้ลูกพูดคุยกับผู้คนบ้างเป็นบางทีที่เหมาะสม
           2.4 ด้านสติปัญญา   พ่อแม่ต้องมีเวลาให้กับลูกในการสอนการบ้านลูก   การพูดคุยถาม-ตอบในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูก  สนับสนุนในสิ่งที่ลูกต้องการเรียนรู้อย่างเต็มที่


3.) การฝึกให้เด็กเป็นคนดี  คนขยัน  คนฉลาด  ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบ    3.1 ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การใฝ่หาความรู้ให้ลูกได้เห็นก่อนเป็นอันดับแรก
            3.2 เริ่มสอนในสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กในเรื่องที่ดี  เช่น  การให้ลูกฝึกช่วยเหลือตนเอง   การฝึกคิดแก้ไขปัญหาในเรื่องง่ายๆ   การถาม-ตอบกับลูกในสิ่งที่ลูกสงสัยอย่างเป็นประจำ
            3.3 การพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้านได้เห็นโลกภายนอก   เช่น  การพาเข้าวัดทำบุญ    การไปเที่ยวสถานที่ธรรมชาติต่างๆ   เช่น   สวนสัตว์   สวนสาธารณะ   ทะเล 


4.) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใด  จงอธิบาย
ตอบ     4.1 การที่ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้กับลูก
             4.2 การที่ผู้ปกครองไม่มีความรู้ในการเลี้ยงลูกที่ถูกวิธี
             4.3 สภาพครอบครัวที่อาจมีปัญหา  ไม่พร้อมต่อการมีบุตร
             4.4 สภาพแวดล้อมในชุมชนที่ไม่ดี


ประเมินตนเอง

           มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังบรรยายเนื้อหาในการเรียนที่อาจารย์พูดและจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
         
          เพื่อนๆมาเรียนตรงต่อเวลา  ขณะเรียนก็มีเพื่อนบางส่วนที่ไม่ตั้งใจเรียนอยู่บ้างค่ะ และเสียงดังเป็นบางช่วงค่ะ

ประเมินอาจารย์

         อาจารย์อธิบายเนื้อหาในบทที่ 1  อย่างละเอียดทุกหัวข้อ พร้อมมีการตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ
           

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี  ที่ 8 สิงหาคม 2562



           วันนี้เป็นแรกของการเรียนวิชา การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย (EAED4209) กับอาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด  อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเนื้อหาของรายวิชา การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  เกณฑ์การให้คะแนน  และงานที่ต้องทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่มอย่างละเอียดถี่ถ้วนค่ะ
           ต่อมาเป็นการตอบคำถามใน Quizizz เพื่อทดสอบความรู้ก่อนเรียนค่ะ และสุดท้ายอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองมาเพื่อศึกษาหาความรู้ และ ตั้งกลุ่มกับเพื่อนๆเพื่อทำงานในครั้งต่อไปค่ะ

ประเมินตนเอง
       
         มาเรียนตรงต่อเวลา  การแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ได้พูดและจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญอย่างตั้งใจค่ะ

ประเมินเพื่อน
   
        เพื่อนๆส่วนมากมารอเรียนก่อนเวลา  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูดเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
     
         อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดเนื้อหาในรายวิชาอย่างชัดดีค่ะ