วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  10

วันพฤหัสบดี   ที่  24  ตุลาคม   2562



            อาจารย์ได้ตรวจรายละเอียดเอกสารโครงการของกลุ่มดิฉันและกลุ่มเพื่อนๆ อย่างละเอียดชัดเจนอีกครั้ง  พร้อมแก้ไขในส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ก่อนที่จะไปลงพื้นที่จริงค่


ประเมินตนเอง

       เข้าเรียนตรงต่อเวลา  การแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ให้แก้ไขปรับปรุงโครงการให้ถูกต้องค่ะ

ประเมินเพื่่อน

       พื่อนๆทุกกลุ่ม  มีการไปปรึกษาโครงการของตนเองกับอาจารย์อย่างเต็มที่ดีมากค่ะ 

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์มีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนเอกสารของโครงการให้นักศึกษาอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  9

วันพฤหัสบดี   ที่  17  ตุลาคม   2562



           อาจารย์ได้ตรวจรายละเอียดโครงการแต่ละกลุ่ม  เพื่อจะดูความคืบหน้าของโครงการแต่ละกลุ่มเพื่อให้ดำเนินการไปได้ด้วยดี       สุดท้ายเป็นการส่งงานแผ่นผับ "สานสัมพันธ์"  ของนักศึกษาทุกคน                                
                                     
                                   สานสัมพันธ์   หน่วย  ผักสดดีมีประโยชน์
  


                          
                                            

ประเมินตนเอง
         
          เข้าเรียนสาย  แต่ได้มาฟังอาจารย์แก้ไขรายละเอียดโครงการของกลุ่มดิฉันอย่างตั้งใจค่ะ

ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆทุกกลุ่มเริ่มเตรียมสื่ออุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ในโครงการของตนเองอย่างตั้งใจมากค่ะ

ประเมินอาจารย์

          อาจารย์ให้ความช่วยเหลือและแนะนำความรู้ในการทำโครงการอย่างเต็มที่มากค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8

วันพฤหัสบดี   ที่  10  ตุลาคม   2562



         อาจารย์ได้มาพูดคุยเกี่ยวกับการทำโครงการ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง ของนักศึกษาทุกๆกลุ่ม ในรายละเอียดเอกสารการแบบนันทึกข้อความการทำกิจกรรม  การขอสถานที่ และการทำแบบสอบถามความต้องการของผู้ปกครอง
              และสุดท้ายอาจารย์ได้แจกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ในการทำโครงการของนักศึกษาทุกๆกลุ่ม


 ประเมินตนเอง

      เข้าเรียนตรงต่อเวลา   การแต่งกายถูกระเบียบ  จดบันทึกข้อมูลที่ประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริงในอนาคตในการฝึกสอนค่ะ

ประเมินเพื่อน

        เพื่อนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจเรียนสักเท่าไรค่ะ  พูดคุยเสียงดังกันเป็นบางช่วงค่ะ

ประเมินอาจารย์

         อาจารย์ได้ตรวจงานโครงการของทุกกลุ่มอย่างละเอียดชัดเจน   ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7

วันพฤหัสบดี   ที่  3  ตุลาคม   2562


    การนำเสนอรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเรื่องต่างๆ ดังนี้



กลุ่มที่  1    เรื่อง  การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม " "เล่นกับลูกปลูกภาษา"  
หลักสูตรปริญญา : การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ.2554
ผู้วิจัย : อารีย์   คำสังฆะ

1.บทนำ  ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
       1.1 ภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงอารยธรรมของมนุษย์ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นชนเผ่าและความเป็นชนชาติได้ดี
       1.2 ภาษาเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้รอบตัวขอองเด็กตั้งแต่เกิด และเป็นสื่อในการเรียนให้ได้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ
       1.3 เด็กสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในยุคสารสนเทศผ่านภาษา 
       1.4 การส่งเสริมความสามารถทางภาษาให้กับเด็กสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การเล่านิทาน  การเล่นนิ้วมือ  การเล่น ทายปัญหา  ร้องเพลง  หรือแม้การสนทนาของบุคคลรอบข้าง
       1.5 การส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนเอง ที่มีต่อการเรียนรู้ของเด็กก็เป็นสิ่งสำคัญ
       1.6 หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย  การที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
       1.7 การเรียนรุู้ภาษาเกิดขึ้นได้ทุกที่และควรมีความร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อร่วมกันพัฒนาเด็กตามศักยภาพ  

2.วัถตุประสงค์การวิจัย
       2.1 เพื่อพัฒนาการทางด้านภาษาด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม ''เล่นกับลูกปลูกภาษา"
       2.2 เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม  ''เล่นกับลูกปลูกภาษา" 
        
3.ขอบเขตการศึกษาการวิจัย
       3.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
           พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน  แขวงแสนแสบ  สำนักงานเขตมีนบุรี  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำนวน 2  ห้องเรียน  นักเรียน 50 คน
       3.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
           พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน  แขวงแสนแสบ  สำนักงานเขตมีนบุรี  สังกัดกรุงเทพมหานคร    จำนวน 25 คน  ที่ได้จาการสุ่มอย่างง่ายโดยจับสลาก
  
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
        4.1 ตัวแปรอิสระ :  ชุดกิจกรรม  ''เล่นกับลูกปลูกภาษา" 
        4.2 ตัวแปรตาม  :   ความเข้าใจภาษา

5.นิยามศัพท์เฉพาะ 
        5.1 เด็กปฐมวัย    
           หมายถึง  นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี   ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน  แขวงแสนแสบ  สำนักงานเขตมีนบุรี  สังกัดกรุงเทพมหานคร 
        5.2 ผู้ปกครอง   
           หมายถึง  พ่อแม่  ญาติ พี่ น้อง หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก ให้การอุปการะเลี้ยงดูให้ความรัก เอาใจใส่ตลอดจนให้การศึกษากับเด็กเป็นกลุ่มตัวอย่าง
        5.3 ชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา" 
           หมายถึง เอกสารให้ความรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาความเข้าใจของเด็กปฐมวัย  ประกอบไปด้วย เอกสารให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  แบบบันทึกพฤติกรรมเด็กในระหว่างการทำกิจกรรม ทั้งนี้เด็กก็จะได้เรียนรู้ภาษาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุดกิจกรรม 8 ชุด  ประกอบไปด้วย    ชุดที่ 1 นิทานหรรษา    ชุดที่ 2  ปริศนาฮาเฮ   ชุดที่ 3 นิ้วมือมหัศจรรย์    ชุดที่ 4 อักษรซ่อนหา   ชุดที่ 5 นิทานย้อนกลับ  ชุดที่ 6 ภาษาในครัว  ชุดที่ 7 นักสืบน้อย    ชุดที่ 8  จ๊ะเอ๋ชื่อใครเอ่ย
ซึ่งแต่ละชุดประกอบไปด้วย 3  ส่วน
          ส่วนที่ 1  เกร็ดความรู้ผู้ใหญ่   เป็นส่วนการให้ความรู้ผู้ปกครอง ในเรื่องพัฒนาการเด็กปฐมวัยพัฒนาการทางด้านภาษา
          ส่วนที่ 2 มาสนุกด้วยกันสิ   เป็นวิธีการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก  เช่น การเล่านิทาน   ทายปริศนา  เป็นต้น
          ส่วนที่ 3 เรื่องเล่าจากบ้าน  เป็นส่วนของการพูดคุย ซักถาม และเขียนคำตอบ  หรือผลการปฏิบัติกิจกรรม
        5.4 ความเข้าใจภาษา
             หมายถึง  การที่เด็กปฐมวัยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 รับข้อมูลไปสู่กระบวนการคิด  แล้วแสดงออกถึงความเข้าใจด้วยการพูดที่สื่อความหมายว่าเข้าใจความหมายของคำประโยค  ในวิจัยครั้งนี้ศึกษาเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัย 2 ด้าน ได้แก่
           1.การใช้คำอย่างมีจุดหมาย
           2.การใช้ประโยชน์เพื่อสื่อความหมาย

6.สมมติฐานการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรม "เล่นกับลูกปลูกภาษา" โดยผู้ปกครองมีความเข้าใจภาษาหลังทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
       
7.วิธีการดำเนินการวิจัย
        7.1 ประชากร 
             ได้แก่  พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน  แขวงแสนแสบ  สำนักงานเขตมีนบุรี  สังกัดกรุงเทพมหานคร  จำนวน 2  ห้องเรียน  นักเรียน 50 คน
        7.2  กลุ่มตัวอย่าง
              ได้แก่  พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน  แขวงแสนแสบ  สำนักงานเขตมีนบุรี  สังกัดกรุงเทพมหานคร    จำนวน 25 คน  ที่ได้จาการสุ่มอย่างง่ายโดยจับสลาก 1 ห้องเรียน
  
8.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        8.1 ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา"
        8.2 แบบวัดความเข้าใจภาษาเด็กปฐมวัย
        8.3 แบบวิเคราะห์เข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัย
       
9.การดำเนินการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
         9.1 ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา"  ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อพัฒนาความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย จำนวน 8 ชุด  สร้างเครื่องมือตามลำดับขั้นตอน  ดังนี้
      -ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด  ทฤษฎี  หลักการสอนและหลักการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบภาษาธรรมชาติ
      -ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย
      -ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
      -ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตลอดจนคู่มือหลักสูตร
      -สร้างชุดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและกิจกรรมที่ผู้ปกครองที่ต้องทำร่วมกับเด็ก
      -นำชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ ตรวจพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อปรับปรุงแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญ
      -นำชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ Try Out กับผู้ปกครองและเด็ก
      -นำชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา" นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
           9.2 แบบแผนการทดลองและวิธีการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  ซึ่งผู้วิจัยได้ทดลองแบบ One-Group   Pretest-Postest  Design  ซึ่งมีแบบแผนทดลอง  ดังนี้
      -จัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน Baseline Data  ความเข้าใจทางภาษาของกลุ่มตัวอย่าง 25 คน ก่อนใช้ชุดกิจกรรม
      -ประชุมนิเทศผู้ปกครอง
      -ผู้วิจัยแจกชุดกิจกรรมให้เด็กในวันจันทร์  เพื่อให้เด็กและผู้แกครองนำไปทำกิจกรรมร่วมกันตลอดทั้งสัปดาห์
      -ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมพร้อม คำพูดของเด็กกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน ขณะทำกิจกรรม
      -จัดเก็บข้อมูล เด็กกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน หลังการใช้ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา"
      -นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ เพื่อสรุปผลการวิจัย

10.การวิเคราะห์ข้อมูล
        10.1 เก็บรวบรวมข้อมูลความเข้าใจทางภาษาก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา" ด้วยแบบวัดความเข้าใจทางภาษาของเด็กปฐมวัย 
        10.2 เก็บรวบรวมข้อมูลการทำชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา" ของผู้ปกครองจากส่วนเรื่องเล่าจากบ้านในชุดกิจกรรม
        10.3 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรม คำพูดของเด็กโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยนำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้อง
        10.4 รวบรวมข้อมูลผลการวิเคราะห์ทางสถิติเขียนรายงานการวิจัย 

11.สถิติที่ใช้ในการวิจัย
          11.1 การคำนวณหาค่าความยาก-ง่าย
          11.2 การคำนวณหาค่าอำนาจจำแนก
          11.3 การคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น
          11.4 หาค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรม
          11.5 การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของคะแนน (MEAN)
          11.6 การคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard deviation)
          11.7 เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนและหลังทำการทดลอง  ใช้สูตร  t-test  Dependele
      
12.สรุปผลการวิจัย
        12.1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผูัปกครองใช้ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา"   มีพัฒนาการความเข้าใจภาษา โดยรวมสูงขึ้นร้อยละ 52.72 ของความสามารถพื้นฐานเดิม
        12.2 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม"เล่นกับลูกปลูกภาษา"   มีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจำแนกรายด้าน คือ การใช้คำอย่างมีจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   
          
                                                                                                                       

กลุ่มที่  2    เรื่อง  การพัฒนาโปรแกรมมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
การวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ปีที่ทำวิจัย : พ.ศ.25571
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญไท  เจริญผล
           นางสาวภัทราวรรณ  จันทร์เนตร์
           นางสาวภรภัทร  นิยมชัย

1. บทนำ  ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
่     1.1 การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่สำคัญยิ่งต่อสังคมมนุษย์ในอันที่จะสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นและทำให้สังคมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
     1.2 การพัฒนาทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบันช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
     1.3 ผู้ปกครองนับว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะผู้มีบทบาทในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตเป็นเยาวชนของชาติที่มีคุณภาพและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ
     1.4 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย  จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาเด็กให้มีนิสัยรักการอ่านและเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กได้อีกทางหนึ่ง

2.วัตถุประสงค์การวิจัย
      2.1 เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
      2.2 เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
      3.1 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
      3.2 เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาให้มีนิสัยรักการอ่าน
      3.3 เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการโปรแกรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านอื่นๆ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
      3.4 เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยระดับอุดมศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย รายวิชาสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย รายวิชานิทานละครและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย และรายวิชาการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย


4.ขอบเขตการศึกษาวิจัย
       4.1 ประชากร
             -ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 ของโรงเรียนวัดมเหยงค์  อ.นครหลวง
.พระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 37 คน
             -เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดมเหยงค์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 37 คน
        4.2 กลุ่มตัวอย่าง
             -ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี  ชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 ของโรงเรียนวัดมเหยงค์
อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 20 คน
             -เด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปี่ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556
ของโรงเรียนวัดมเหยงค์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 20 คน

5.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
         5.1 ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น /ตัวจัดกระทำ
                    -โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
         5.2  ตัวแปรตาม 
                     -นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านความสนใจในการอ่าน  และด้านพฤติกรรมการอ่าน

6.นิยามศัพท์เฉพาะ
         6.1 เด็กปฐมวัย
              เด็กนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดมเหยงค์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1
         6.2  ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
           พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิดเด็กให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้ความรัก เอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ตลอดจนให้การศึกษาแก่เด็ก
         6.3 นิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
              การแสดงออกถึงความพอใจในการดูหนังสือภาพของเด็กปฐมวัยจากการอ่านหนังสือโดยผู้ปกครอง ความสนใจในการอ่านของเด็กปฐมวัย  ตลอดจนพฤติกรรมที่เด็กปฐมวัยแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะฟังนิทานจากผู้ปกครอง พฤติกรรมที่บ่งบอกถึงนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านความสนใจในการอ่านและด้านพฤติกรรมการอ่าน

7.สมมติฐานการวิจัย
        เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้น

8.วิธีการดำเนินการวิจัย
       8.1 คณะผู้วิจัยทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมเหยงค์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เพื่อขออนุญาตทำการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
       8.2 ขอความอนุเคราะห์ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมเหยงค์ ส่งใบสมัครให้ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัย     เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 20 คน
       8.3 ประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโปรแกรมการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรักการอ่านและวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยและให้ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง
       8.4 ดำเนินการทดลองตามแผนโครงการวิจัย
       8.5 วัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยและให้ผู้ปกครอง สังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลอง
       8.6 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ
     
9.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย     
       9.1 โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
       9.2 แบบวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
       9.3 แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย

10.การวิเคราะห์ข้อมูล
       10.1 ค่าสถิติพื้นฐาน
       10.2 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบคะแนนก่อนทดลองและหลังการทดลองโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples

11.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
      11.1 ค่าเฉลี่ย
      11.2 ค่า S.D.
      11.3 ค่า IOC
      11.4 ค่า t-test

12.สรุปผลการวิจัย
      12.1 ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสันรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยนิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดสอบ
      12.2 เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย  มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

         
                       

กลุ่มที่  3    เรื่อง  การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การศึกษาระดับ : หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ทำวิจัย: 2533
ผู้วิจัย : วรยา กาญจนชาติ

1. บทนำ  ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
    1.1 จากการสำรวจการเล่นของเด็กชนบทในชุมชนเกษตรกรรมพบว่า ไม่มีของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา หรือของเล่นเพื่อการศึกษาแต่อย่างใด
    1.2 พ่อแม่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของการเล่น และของเล่นที่ส่งเสริมความพร้อมทางสติปัญญาเท่าที่ควร โดยคิดว่าของเล่นและการเล่นของเด็กมีประโยชน์เพียงให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
    1.3 พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการให้อบรมเลี้ยงดูที่ถูกวิธี ละเลยบทบาทหน้าที่ของตนในการให้การอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ลูกหลานของตนให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม
    1.4 ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดยผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย
    1.5 ผู้ปกครองเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าเดิม 

2.วัตถุประสงค์การวิจัย
       เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
     3.1 ทำให้ทราบผลของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาที่แตกต่างกัน
     3.2 เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนเองในการสอนลูกหลานให้เกิดพัฒนาการด้านต่างๆได้ด้วยตนเอง

4.ขอบเขตการศึกษาวิจัย
   4.1 ประชากร 
          ได้แก่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในเขตพัฒนา อำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ในปี พ.ศ.2532
         1.ผู้ปกครองมีคุณสมบัติ  ดังนี้
                    -อายุระหว่าง 25-40 ปี
                    -การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่4-7
                    -มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวประมานเดือนละ2000ถึง 4000
          2. เด็กมีคุณสมบัติ  ดังนี้
                    -มีอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ในวันที่ทำการทดลอง
                    -ไม่เคยเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือศูนย์โภชนาการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข หรือสถาบันรับเลี้ยงเด็กใดๆมาก่อน
                    -เป็นเด็กที่มีผู้ปกครองตามคุณสมบัติข้อที่1.1 และมีบิดาอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาของการทดลอง
    4.2 กลุ่มตัวอย่าง 
          ได้แก่  ผู้ปกครองและเด็กมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อที่1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple Random)จำนวน25คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง2กลุ่ม กลุ่มทดลองที่1 จำนวน14คู่ กลุ่มทดลองที่2 จำนวน11คู่

5.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
     5.1 ตัวแปรต้น   
            ได้แก่   การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์ ให้มีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ 2 วิธี คือ
    วิธีที่ 1 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย
    วิธีที่ 2 ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยให้ผู้ปกครองคิดวิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
     5.2 ตัวแปรตาม  
             ได้แก่  การพัฒนาด้านความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์

6.นิยามศัพท์เฉพาะ
     6.1 ผู้ปกครอง 
            หมายถึง มารดาของเด็กปฐมวัยอายุ ระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์ ที่มีอายุ 25 – 40 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ทำการทดลอง มีบิดาอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาของการทดลอง
     6.2 เด็กปฐมวัย 
            หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์ในวันที่ทำการทดลอง เป็นเด็กที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือสถานรับเลี้ยงเด็กใดๆมาก่อน และมีผู้ปกครองตามคุณสมบัติข้อที่ 1
     6.3 การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง 
            หมายถึง การวางพื้นฐานในการคิดและการจัดหาสื่อในการเด็กให้มีพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมี 2 วิธี คือ
           -ผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย 3 เรื่อง คือ เรื่องวงกลม สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม เรื่องละ 2 สัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กเองอีก 4 เรื่อง คือ เรื่อง ใหญ่ – เล็ก ยาว – สั้น หนัก – เบา และ มาก – น้อย 
           -ผู้ปกครองเรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 เรื่อง คือ เรื่องวงกลม สี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม เรื่องละ 2 สัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กเองอีก 4 เรื่อง คือ เรื่อง ใหญ่ – เล็ก ยาว – สั้น หนัก – เบา และ มาก – น้อย
    6.4 ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 1/2 - 4 ปีบริบูรณ์
              หมายถึง ความสามารถในการชี้หรือบอกลักษณะของสิ่งของได้ถูกต้องดังนี้ คือ
        6.4.1 ใหญ่ – เล็ก
        6.4.2 ยาว – สั้น
        6.4.3 หนัก – เบา
        6.4.4 มาก – น้อย
ซึ่งสามรถวัดได้จากแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

7.สมมติฐานการวิจัย
       ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปี บริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยวิธีที่ 1 และ 2 แตกต่างกัน

8.วิธีการดำเนินการวิจัย
       8.1 ประชากร  
               ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2  ½ -  4 ปีปริบูรณ์   ในเขตพัฒนาอำเภอบางแสน จังหวัดนครปฐม  ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในปี พ.ศ. 2532
         8.1.1 ผู้ปกครองมีคุณสมบัติ  ดังนี้
                -อายุระหว่าง  25-40 ปี
                -การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
                -มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวประมาณเดือนละ  2,000  ถึง   4,000  บาท
          8.1.2  เด็กมีคุณสมบัติ   ดังนี้
                -มีอายุระหว่าง  2 ½  -  4 ปีบริบูรณ์ในวันที่ทำการทดลอง
                -ไม่เคยเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมการพัฒนาชุมชน   กระทรวงมหาดไทย  หรือศูนย์โภชนาการของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุขหรือสถานรับเลี้ยงเด็กใดๆมาก่อน
                -เป็นเด็กที่มีผู้ปกครองตามคุณสมบัติข้อที่  1.1
      8.2 กลุ่มตัวอย่าง 
             ได้แก่  ผู้ปกครองและเด็กที่มีคุณสมบัติที่กำหนด ในข้อที่ 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  (Simple Random) จำนวน 25 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม  กลุ่มทดลองที่ 1 (14 คู่)   กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน  (11  คู่)   โดยการจับฉลาก ซึ่งได้มา    ดังนี้
     หมู่บ้านที่  2  และ 5      จำนวน 14 คู่      เป็นกลุ่มทดลองที่ 1
     หมู่บ้านที่  4                 จำนวน 11 คู่      เป็นกลุ่มทดลองที่ 2

9.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย     
     9.1 ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
     9.2 แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
     9.3 แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
      9.4 แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย

10.การดำเนินการวิจัย
        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยดำเนินตามแบบแผนการวิจัยแบบ Randomized Control – Group Pretest – Posttest Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2518 : 216 )
การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
10.1 ดำเนินการ    ดังนี้
      -ผู้วิจัยให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง 2 กลุ่ม  เกี่ยวกับวิธีสอน การใช้สื่อ และ ขั้นตอนในการสอนเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยสาธิตให้ผู้ปกครองดู 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1  ให้เด็กเรียนรู้จากของจริง โดยให้เด็กดู สัมผัส จับต้อง ลูบคลำสิ่งของที่จะให้เด็กเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 2  ให้เด็กรู้จักชื่อ ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งของ
ขั้นตอนที่ 3  ให้เด็กแยกแยะประเภทของสิ่งของตามลักษณะและคุณสมบัติ
ขั้นตอนที่ 4   สรุป
    10.1.1 ผู้ปกครอง 2 กลุ่ม  สอนตามวิธีการที่ผู้วิจัยกำหนดให้
    กลุ่มที่ 1 ผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และสอนเด็ก 3 เรื่อง เรื่องละ 2สัปดาห์ รวมเป็น 6 สัปดาห์
-สัปดาห์ที่ 1-2 เรื่องรูปวงกลม
-สัปดาห์ที่ 3-4 เรื่องรูปสี่เหลี่ยม
-สัปดาห์ที่ 5-6 เรื่องรูปสามเหลี่ยม
     กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครองคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และสอนเด็ก 3 เรื่อง เรื่องละ 2สัปดาห์ รวมเป็น 6 สัปดาห์
-สัปดาห์ที่ 1-2 เรื่องรูปวงกลม
-สัปดาห์ที่ 3-4 เรื่องรูปสี่เหลี่ยม
-สัปดาห์ที่ 5-6 เรื่องรูปสามเหลี่ยม
10.2 ผู้วิจัยดำเนินการ   ดังนี้
                 1.ผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ใหญ่ – เล็กยาว – สั้น หนัก – เบา และ  มาก – น้อย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นก่อนที่ผู้ปกครองจะสอนเด็ก เพื่อคัดเลือกเด็กที่ยังไม่มีความคิดรวบยอด ในเรื่องดังกล่าวโดยยึดหลักเกณฑ์ที่ว่า เด็กที่ทำแบบทดสอบได้ในแต่ละเรื่องไม่เกิน 3 ข้อ จากแบบทดสอบทั้งหมด 10 ข้อ เป็นเด็กที่ยังไม่มีความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
                  2.ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่ม คิดวิธีและจัดหาสื่อในการสอนเด็กด้วยตนเองตามหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยกำหนดให้ 4 เรื่อง เรื่องละ 1 สัปดาห์ รวม 4 สัปดาห์ตามลำดับ คือ
-สัปดาห์ที่ 1 เรื่อง ใหญ่-เล็ก
-สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง ยาว-สั้น
-สัปดาห์ที่ 3 เรื่อง หนัก-เบา
-สัปดาห์ที่ 4 เรื่อง มาก-น้อย
10.3  ทำการทดสอบเด็กหลังการสอนชองผู้ปกครอง ด้วยแบบทดสชุดเดียวกับก่อนการสอนของผู้ปกครอง สัปดาห์ละ 1 เรื่อง
10.4  นำคะแนนที่เด็กทำได้ก่อนการสอนของผู้ปกครองและหลังการสอนของผู้ปกครอง มาหาค่าเฉลี่ยและเปรียบเทียบกัน

11.การวิเคราะห์ข้อมูล
       นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบเด็กทั้ง 2  กลุ่ม  ก่อนและหลังการทดสอบในขั้นตอนที่ 2  เรื่องใหญ่-
เล็ก  ยาว-สั้น  หนัก-เบา  และ มาก-น้อย  ไปหาค่าเฉลี่ย แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้ T-test ในรูป Difference  Score ของ  Scott

12.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
      12.1 การหาค่าเฉลี่ย
      12.2 การหาความยากง่าย

13.สรุปผลการวิจัย
     ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


กลุ่มที่ 4  เรื่อง  การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
การศึกษา: ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต   มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
ปีที่ทำวิจัย: 2540
ผู้วิจัย:  นางสาวเจนจิรา คงสุข  

1.บทนำ  ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
      1.1 ปัญหาเด็กที่อยู่ในชนบทขาดการพัฒนาตามวัยอย่างต่อเนื่องครบทุกด้านโดยเฉพาะการพัฒนาทางสุขภาพ
      1.2 ผู้ปกครองในหมู่บ้านชนบทของไทย มีประเด็นสำคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก
      1.3 ปัญหาการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กสามารถพิจารณาได้จากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองในชนบท
      1.4 ความเสื่อมถอยของบทบาทครอบครัวในการขาดการเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อแม่
      1.5 ปัญหาการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในชนบท ต้องครอบคลุมสมาชิกในครอบครัวและตัวผู้ปกครองเองด้วย

2.วัถตุประสงค์การวิจัย
       เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

3.ขอบเขตการศึกษาการวิจัย
      3.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
            ผู้ปกครองของเด็กอนุบาลทั้งหมดในหมู่บ้านหนองกก หมู่ที่ 4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวัดนครศรีธรรมราช  ในปี พ.ศ. 2540 มีจำนวนทั้งสิ้น 39 คน
      3.2 ระยะเวลาในการทำวิจัย 
           ผู้วิจัยใช้เวลาเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างโปรแกรม เป็นเวลา 5 เดือน  และดำเนินการทดลองใช้โปรแกรม รวมทั้งติดตามผลการใช้โปรแกรม เป็นเวลา 3 เดือน รวมทั้งสิ้น 8 เดือน

4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
      4.1 ตัวแปรต้น
             ได้แก่  โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล  ด้วยรูปแบบการใช้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
      4.2 ตัวแปรตาม
              ได้แก่  แบบแผนพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล

5.นิยามศัพท์เฉพาะ 
      5.1 รูปแบบการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 
แนวทางการดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในชนบทเข้าร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดระบบ ความคิด และความรู้และความรู้เกี่ยวกับชุมชนของตน เพื่อประมวลความรู้ความเข้าใจของตน
      5.2 การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กอนุบาล 
การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้เด็กอนุบาลเป็นผู้มีสุขภาพดี และมีอัตราการเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย
      5.3 โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 
แผนการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองซึ่งได้จากการนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาบาลและรูปแบบการให้ชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
      5.4 ขั้นเตรียมการ
การดำเนินการเพื่อการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลในชุมชน เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ทั่วไป และส่งเสริมพัฒนาการร่างกายของเด็กวัยอนุบาล
      5.5 ขั้นจัดกิจกรรม                                                                                                                การดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการร่างกายของเด็กวัยอนุบาล บนข้อมูลพื้นฐานของข้อมูลและแผนที่ได้เตรียมไว้ในขั้นเตรียมการ
      5.6 การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา                  กระบวนการซึ่งประกอบด้วยการนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง การส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล และรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
      5.7 ผู้ใช้โปรแกรม                                                                                                                  ครู เจ้าหน้าที่อนามัย หรือนักพัฒนาซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนรัฐบาลหรือเอกชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนในภาคใต้
      5.8 ผู้ปกครอง                                                                                                                       พ่อแม่ หรือ ผู้ใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับเด็กโดยอยู่ร่วมกันในครอบครัว มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยอนุบาล
      5.9  เด็กวัยอนุบาล                                                                                                                  เด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี

6.สมมติฐานการวิจัย / คำถามของการวิจัย
        ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล  หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล  ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือไม่ อย่างไร

7.วิธีการดำเนินการวิจัย
       7.1 ประชากร  
             ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลทั้งหมดในหมู่บ้านหนองกก หมู่ที่ 4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน   จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 มีจำนวนทั้งสิ้น 39 คน
       7.2  กลุ่มตัวอย่าง                                                                                                                          ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาล (3-6ปีในบ้านหนองกก หมู่ที่ 4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 จำนวน 8 คน ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในโปรแกรม

8.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลทั้งหมดในหมู่บ้านหนองกก หมู่ที่ 4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวันครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 มีจำนวนทั้งสิ้น 39 คน 

9.การดำเนินการวิจัย
        ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
        ขั้นที่ การสร้างโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
        ขั้นที่ 3 การทดลองการใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล
        ขั้นที่ 4 การปรับปรุงโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา


10.การวิเคราะห์ข้อมูล
        10.1 การจำแนกชนิดของข้อมูล     
                 การวิเคราะห์ข้อมูล ในระยะที่ 1 ในช่วงของการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อตั้งคำถามของการวิจัย  ผู้วิจัยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดของข้อมูล เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ หรือเป็นชนิดตามลักษณะร่วมของข้อมูลเหล่านั้น
        10.2 การสร้างข้อสรุปย่อยด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย                                             
                จากข้อมูลในสัมภาษณ์ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ที่ทำดัชนีแล้วข้างต้น นำมาวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดของข้อมูล และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับดัชนี เพื่อนำมาสร้างข้อสรุป       


11.สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาวิจัย แบ่งเป็น 2 ตอน  ดังนี้
       ตอนที่ 1  ผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ ประกอบด้วยข้อมูล 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ 
              1.ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการตั้งคำถามของวิจัย
              2.คำตอบของการวิจัย: การเปลี่ยนแปลงแผนพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล
              3.ข้อค้นพบอื่นๆ
       ตอนที่ 2  ข้อค้นพบที่ได้จากการทดลองและการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมฯ
              1.การนำข้อค้นพบที่ได้มาวิเคราะห์และปรับปรุงโปรแกรม

              2.โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล  ด้วนรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฉบับสมบูรณ์

12.สรุปผลการวิจัย
         หลังการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายเด็ก
วัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในเรื่องที่ผู้ปกครองเลือกมาแก้ปัญหา   ได้แก่  โรคฟันผุ  ในเด็กวัยอนุบาล  ดังนี้

         1.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
             2.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์


                   

    กลุ่มที่ 5   เรื่อง  การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
การศึกษา:  ระดับปริญญาศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีที่ทำวิจัย: 2556
ผู้วิจัย: บุษยมาศ ผึ้งหลวง

1.บทนำ  ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
    1.1 เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กสังเกตได้จากการเล่นการพูดคุยของเด็กมักมีเรื่องราวคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
    1.2 เนื่องจากผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเอาใจใส่ลูกเป็นครั้งคราว
    1.3 ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญและใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ผลักดันให้การดำเนินชีวิตของเด็กในด้านต่างๆประสบความสำเร็จได้ 

2.วัถตุประสงค์การวิจัย
    2.1 เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
    2.2 เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    2.3 เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ   

3.ขอบเขตการศึกษาการวิจัย
      - เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปี่ที่ 1 โรงเรียนวัดผึ่งแดด แบบเจาะจง จำนวน 20 คน

4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
     4.1 ตัวแปรต้น 
 - ชุดกิจกรรม สนุกกับลูกรัก
     4.2 ตัวแปรตาม
 - ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

5.นิยามศัพท์เฉพาะ   
      5.1 เด็กปฐมวัย  หมายถึง เด็กชาย หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี
      5.2 ผู้ปกครอง    หมายถึง พ่อแม่ญาติพี่น้อง บุคคลอื่นที่อยู่ไกล้ชิดเด็ก
      5.3 กิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” หมายถึง  เอกสารให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

6.สมมติฐานการวิจัย
       หลังจากการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทักษะทางพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โยรวมและจำแนกรายทักษะสูงขึ้น

7.วิธีการดำเนินการวิจัย
     7.1 กลุ่มตัวอย่าง
     เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปี่ที่ 1 โรงเรียนวัดผึ่งแดดแบบเจาะจง 20 คน 

8.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       8.1 ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด
       8.2 แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

9.การดำเนินการวิจัย
        9.1 ขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
       9.2 ทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นรายบุคคล
       9.3 เชิญผู้ปกครองเข้าร่วมปฐมนิเทศ เพื่อรับทราบบทบาทและขั้นตอนของกิจกรรม
       9.4 มอบหมายชุดกิจกรรมให้เด็ก
       9.5 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมชุดกิจกรรม
       9.6 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ปกครองละผู้วิจัย
       9.7 ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 45 นาที ทั้งหมด 24 ครั้ง

10.การวิเคราะห์ข้อมูล
       10.1 การแปรผลระดับทักษะทางคณิตศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
       10.2 การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของคะแนน
       10.3 การคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

11.สถิติที่ใช้ในการวิจัย
      11.1 หาค่าความเที่ยงตรงแบบทดสอบรายข้อ
      11.2 หาค่าความยากง่ายแบบทดสอบรายข้อ
      11.3 หาค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบ
      11.4 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
      11.5 หาค่าเฉลี่ยของคะแนน
      11.6 หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
      11.7 ใช้สูตร T – test หาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อน-หลัง ทำการทดลอง

12.สรุปผลการวิจัย 
     12.1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยผู้
ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรัก  ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ พบว่า เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่ง
เสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก มีการ
เปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     12.2 การส่งเสริมทักษะพื้นฐาานทางคณิตศาสตร์ปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ใน
ระดับควรปรับปรุง (=12.90)  และหลังการทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรัก มีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี (=30.35)


ประเมินตนเอง

  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  การแต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจนำเสนองานวิจัยหน้าชั้นเรียน
อย่างเต็มค่ะ

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆทุกกลุ่ม  มีการเตรียมตัวที่ดี  ทั้งเนื้อหาในการรายงานและการเตรียมตัวรายงาน
อย่างเต็มค่ะ

ประเมินอาจารย์

  อาจารย์มีแนะนำข้อมูลเพิ่มเติมในงานวิจัยบางกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ